เช็ค

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาวพนง.โรงแรมพัทยาโดดตึก น้อยใจแฟนแอบมีกิ๊ก


 เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 29 ส.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน เมืองพัทยา ได้รับแจ้งเหตุมีหญิงไทยกระโดดตึก ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดอาคารฮัจยีอิมรอน ประดับญาติ 2 ตั้งอยู่เลขที่ 16/355 ม.9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งจึงนำกำลังอาสาสมัครกู้ภัยฯ และรถเคลื่อนที่เร็ว รีบรุดไปตรวจสอบในที่เกิดเหตุมีชาวบ้านต่างพากันยืนมุงดูเหตุการณ์ ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ทราบชื่อ คือ น.ส.กะทิ (นามสมมติ) อายุ 27 ปี พนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา นอนคว่ำหน้า อยู่ในสภาพหายใจติดขัด และกระดูกแขนผิดรูป ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ จึงปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำตัวส่งโรงบาลพัทยาเมโมเรียล เพื่อรักษาอาการ

 สอบถามนายอาทิตย์ นามกระโทรก อายุ 29 ปี ซึ่งเป็นแฟนของคนเจ็บ เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุตนพักอยู่บนชั้นที่ 2 ของอาคาร แฟนของตนได้ออกไปกินเหล้ากับเพื่อน ก่อนกลับมาช่วงดึก ก่อนที่แฟนสาวจะกล่าวหาว่าตนเองแอบไปมีกิ๊ก ในช่วงตอนไปดื่มเหล้า จนกระทั่งมีปากเสียงกันพักหนึ่ง จู่ๆแฟนของตนก็วิ่งไปที่ระเบียงห้องแล้วก็กระโดดลงไป ตนวิ่งตามแต่คว้าตัวไว้ไม่ทัน จึงได้โทรหาเจ้าหน้าที่เพื่อนำแฟนไปรักษาตัวดังกล่าว


แหล่งที่มา http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.phpnewsid=TVRNME5qSXdOamczTUE9PQ==&subcatid=

“เฉลิม”จวกองค์กรสิทธิฯ ค้านประหารนักค้ายา 15 วัน

   วันนี้ ( 29 ส.ค. ) ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกลุ่มสิทธิมนุษยชนออกมาคัดค้านโทษประหารนักค้ายาเสพติดภายใน 15 วัน ว่า ฝากบอกไปยังองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและนอกประเทศ ที่คัดค้านแนวความคิดตนกรณีนักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ที่ศาลตัดสินประหารชีวิตแล้วควรต้องประหารชีวิตภายใน 15 วัน จากเดิมต้องเลย 60 วันนั้น ที่ผ่านมาเกิดเหตุเอาระเบิดขว้างบ้านผู้คุมเรือนจำ จ. สงขลา และมีการยิงเรือนจำที่ จ.ชลบุรี ซึ่งตนได้เรียกนายตำรวจมากำชับและปรึกษากับผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ซึ่งเขาทราบเบาะแส และดำเนินการจับกุมแล้ว ผู้ต้องหาสารภาพว่านักโทษในเรือนจำจ้างวาน ในระหว่างสอบผู้ต้องหาขยายผลได้อาวุธสงครามมา 2 กระบอก และนักโทษโทรเข้ามือถือผู้ต้องหา ตนสั่งการไปว่าต้องจับกุมนักโทษดังกล่าวด้วยเพราะเป็นตัวการร่วมกัน กรณีเช่นนี้องค์กรสิทธิมนุษยชนจะว่าอย่างไร อยู่ในคุกยังมีอิทธิฤทธิ์ ดังนั้นจึงไม่มีทางอื่น และต้องเห็นด้วยกับตน ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองไปไม่ได้ เพราะอาละวาดกันหนัก ส่วนกรณีเรือนจำ จ.นครศรีธรรมราช ที่จะมีการย้ายทั้งผู้คุมและนักโทษนั้น ตนได้บอกกับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไว้แล้ว ถ้ามีฤทธิ์เดชมากก็ย้ายไปไว้ภาคอื่น เพื่อให้ขาดความคล่องตัว และเชื่อว่าเครือข่ายต่างๆ จะลดน้อยลง 
              เมื่อถามว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนมองในแง่มนุษยธรรมเป็นหลัก ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เรื่องยาเสพติดในตะวันออกกลาง มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม จับแขวนคอและมีโทษประหารชีวิตทั้งนั้น  ทำไมไม่ไปพูดกับเขามา มายุ่งอยู่เฉพาะประเทศไทย แล้วเราทุกข์สาหัสเพราะบ้านเราติดกับประเทศพม่า ตนเดินหน้าตรงๆ ไม่มีประเทศเพื่อนบ้านแล้ว จะทำอย่างไรกันคนไทยต้องตกทุกข์ลำบากอยู่อย่างนี้ เมื่อถามว่าเป็นสาเหตุที่นักค้ายาลอยนวลอยู่เพราะไม่มีการทำลายเครือข่ายหรือยึดทรัพย์อย่างจริงจังหรือไม่  ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ก็มันสบายมา 2 ปี 8 เดือน ซึ่งช่วงดังกล่าวรัฐบาลเปิดประตูประชุมอย่างเดียว ไม่เคยสัมผัสพื้นที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง และไม่ทำอะไรจึงระเบิดเถิดเทิงอย่างนี้ ดังนั้นจึงต้องแตกหัก

 
แหล่งที่มา  http://www.dailynews.co.th/politics/152276 
 

ครม.ไฟเขียวมหาดไทยเปิดเวทีประชาคมแก้รธน.

         แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าในการประชุมครม.ในวันนี้ ครม.ได้มีมติรับทราบ แนวทางการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ตามที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้เสนอ โดยสิ่งที่กระทรวงมหาดไทยเสนอนั้นเป็นการตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในส่วนกลาง จังหวัด และอำเภอ
         คณะกรรมการฯในส่วนกลางจะมีรองนายกรัฐมนตรี หรือ รมว.มหาดไทย เป็นประธานฯ ส่วนคณะกรรมการระดับจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานฯ และคณะกรรมการฯระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็นประธานฯ สำหรับการขับเคลื่อนนั้นจะมีการจัดประชุมสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางในการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาจะประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ จากทั่วประเทศ ผู้ว่ากทม. ปลัดกทม. และผอ.เขตในกทม. รวมแล้ว 1,082 คน รวมทั้งจะมีการจัดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในระดับจังหวัดและกทม.ด้วย 
         “นอกจากนี้จะมีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ทั่วประเทศ รวม 79,888 หมู่บ้านและชุมชน ส่วนกทม.ก็จะมีการจัดเวทีประชาคมชุมชนในกทม.เพื่อรับฟังความคิดเห็นใน 2,016 ชุมชนด้วย” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยยังไม่ได้มีการเสนอจำนวนงบประมาณและกรอบระยะเวลาในการดำเนินการมาให้ครม.รับทราบแต่อย่างใด


แหล่งที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

To... my friend


จริยธรรมนักการเมืองกับการปฏิรูปประเทศ

    สถานการณ์ปัญหาทางการเมืองไทยในปัจจุบันมีความคลี่คลายลงบ้างแล้วและได้มีการพิจารณาถึงการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ ด้วยแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองนั้นจากทุกภาคส่วนของสังคม ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าประเด็นที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การปฏิรูปตัวนักการเมืองเองในเรื่องปัญหาทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง ซึ่งที่ผ่านมานั้นจะเห็นพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติตัวของนักการเมืองบางส่วนทั้งในสภาและนอกสภา ได้สะท้อนภาพออกมาในแง่ลบเป็นส่วนมาก ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและสถาบันทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง

    คำว่า “จริยธรรม” นั้น ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติไว้ว่า “จริยธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ,ศีลธรรม, กฎศีลธรรม และคำว่า “คุณธรรม” หมายถึงสภาพคุณงามความดี ส่วนคำว่า นักการเมืองนั้น หมายถึง ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทำหน้าที่ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา เป็นต้น เมื่อสรุปความโดยรวมแล้วจริยธรรมของนักการเมืองนั้น หมายถึง หลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติที่ดี หรือการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามของผู้ทำหน้าที่ทางการเมือง
การนำจริยธรรมมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับข้าราชการการเมืองหรือนักการเมืองไทยนั้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 13 ว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในมาตรา 279 และมาตรา 280 เนื้อหาโดยสรุปคือ การจัดให้มีประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้าหากข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐฝ่าฝืนมีความผิดทางวินัย ผู้ดำรงตำแหน่งฝ่าฝืนและเป็นความผิดร้ายแรงให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และถือเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยมติวุฒิสภาได้
    จนกระทั่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551ซึ่งระเบียบนี้ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นมาและให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2543 นั้น ระเบียบนี้ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองไว้ในหมวด 2 ซึ่งมีทั้งหมด 23 ข้อ ได้แก่ ข้อ 7 ถึงข้อ 29 เมื่อพิจารณาถึงหัวข้อที่สำคัญ เช่น
- ต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
- ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- ต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
- ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
- ต้องรักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
- พึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุขและรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
- ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
- ต้องรักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นๆ เท่านั้น
- ต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เป็นต้น
ดังนั้น มาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการการเมืองที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 นั้นถือว่าเป็นหลักที่ข้าราชการการเมือง นักการเมืองต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ได้บัญญัติไว้ แต่หากว่านักการเมืองบางส่วนทั้งการอภิปรายในสภาและการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองนอกสภาได้มีการประพฤติปฏิบัติตัวตรงกันข้ามกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้ ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อระบบรัฐสภาและบั่นทอนความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนในประเทศ
ดังนั้น ถ้านักการเมืองปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ที่ได้วางไว้นี้ย่อมส่งผลดีต่อการบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สามารถยกระดับมาตรฐานทางจริยธรรมของนักการเมืองให้ดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนทั้งประเทศ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยต่อไป

แหล่งที่มา http://www.ryt9.com/s/tpd/914204

บรรหาร ลั่นร่างแก้ไขรธน.ไม่ล้มล้างปชต.

    ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์ถึงมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันว่า ขณะนี้มีเรื่องสำคัญ 2 เรื่องคือรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปรองดอง โดยเรื่องรัฐธรรมนูญที่จริงเราไม่ทราบเพราะเป็นเรื่องกะทันหัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือมาตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย.โดยระบุให้ชะลอการลงมติในวันที่ 5 มิ.ย.และขอให้พรรคได้ชี้แจงในวันที่ 5 ก.ค.ในฐานะที่ผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงขอทำความเข้าใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหญ่ไม่ใช่เป็นการล้มล้าง แต่เป็นการแก้ไขบางจุด บางส่วนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งไปตั้งส.ส.ร.ขึ้นมา และก็ไม่แน่ใจว่าประชาชนจะเลือกใครเข้ามา จะไปสั่งการคงไม่ได้ ซึ่งเมื่อร่างไปเช่นนี้ต่อไปก็เป็นเรื่องของสภา อย่างไรก็ตามทางพรรคก็จะต้องชี้แจงไป ส่วนเรื่องกฎหมายปรองดองเมื่อทางสภาให้เลื่อนไป จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเลื่อนไปถึงเมื่อไหร่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการระงับความตึงเครียดในช่วงนี้ไปได้พอสมควร
     ส่วนการวิเคราะห์ว่า รัฐบาลนำเรื่องร้อนทั้งสองเรื่องมาพิจารณาควรจะทำทีละเรื่อง นายบรรหาร กล่าวว่า ตอนนี้กฎหมายปรองดองก็เลื่อนไปแล้ว และมาพูดเรื่องรัฐธรรมนูญกันก่อน เมื่อถามต่อว่ามองอย่างไรที่หลายฝ่ายมองว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย นายบรรหาร กล่าวว่า ตนไม่อยากพูด เดี๋ยวจะหาว่าเป็นการก้าวก่ายทางการเมือง แต่ในใจรู้แล้วว่าคืออะไร

แหล่งที่มา http://www.ryt9.com/s/nnd/1417669