เช็ค

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเมืองไทย หลังจากสมัยอภิสิทธิ์

หลายฝ่ายคาดกันว่า จะมีการเลือกตั้งใหม่ในอีกไม่นานต่อจากนี้ คุณเฉลิมพูดในรายการข่าวเมื่อเช้านี้ว่า คงประมาณกุมภาพันธ์ นักวิเคราะห์การเมืองหลายคนให้ความเห็นไปในทางเดียวกันนี้ว่า ไม่เกินเมษายน หน้า

คำถามคือว่า แล้ว ใครจะชนะเลือกตั้ง แล้วมาจัดต้งรัฐบาล ระหว่าง เพื่อไทย และเครือข่ายอิทธิพลของคุณทักษิณ ที่โฟนอินมายังแฟนคลับเป็นระยะๆไม่เว้นช่วงให้คนที่คอยติดตามได้หยุดหายใจ เป็นการชนะเลือกตั้งเหมือนกับคราว 23 ธันวาคม 2550 จนนำไปสู่การใช้อำนาจตุลาการเข้ามาเกี่ยวกับการตัดสินคดีต่างๆ จนเป็นเหตุให้พรรคพลังประชาชน และรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย จำต้องหมดสภาพลงไป
หรือพรรคประชาธิปัตย์ที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล แล้วยังมะงุมมะงาหรา อยู่จนกระทั่งปัจจุบัน จัดการอะไรก็ยังอยู่ในกรอบวิธีคิดแบบโบราณ ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยของสังคมแบบหลังสมัยใหม่ คือ เป็นสังคมทุนนิยมบริโภค ไม่ใช่ทุนนิยมการผลิต ความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่ประเด็นของชนช้น หรือปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่เป็นประเด็นระหว่างปัญหาสาธารณะกับประเด็นส่วนตัว เป็นความขัดแย้งระหว่างกล่มทุนนิมพวกพ้อง กับภาคประชาสังคม ฯลฯ
หรือเครือข่ายของภูมิใจไทย บวกกับส่วนที่เป็นภาพลักษณ์ใหม่ที่เป็นภาพดีๆทางสังคม มีวิสัยทัศน์และมุมมองแบบสมัยใหม่ และเป็นส่วนท่เพิ่มเติมให้เกิดการยอมรับในทางสังคม  ทางเลือกแบบนี้จะเกิดขึ้นได้จะอยู่ที่การตกลงของฝ่ายทหารในปัจจุบันกับคุณเนวิน ทั้งสองฝ่ายนี้ น่าจะเป็นส่วนที่มีพลังต่อการเมืองไทยในปัจจุบันมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณี ผบ.ตร.
หรือพรรคการเมืองใหม่ ที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำ หรือจะเป็นไปได้ไหมว่า การนำเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการจับมือกันระหว่าง พรรคเพื่อไทย เนวิน / ภูมิใจไทย และฝ่ายทหาร - อำมาตย์
อะไรมันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ดีไม่ดี นายกคนต่อไป อาจจะเป็นคนที่คุณๆไม่มีใครอยากจะได้ ไม่อยากจะเห็นเลยก็เป็นไปได้ เพราะเรื่องการเมืองของไทย ผู้เล่น - Player มันไม่ใช่เรื่อง " ไทยทุกคน"

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
1. การปกครองส่วนกลาง
           พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  คือจตุสดมภ์
จตุสดมภ์   แบ่งเป็น
  กรมเวียง    -   มี   ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล  มีหน้าที่  รักษาความสงบสุขของราษฏร
  กรมวัง       -   มี   ขุนวัง  เป็นผู้ดูแล    เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
 กรมคลัง      -   มี   ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล  มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
  กรมนา       -   มี   ขุนนา  เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร
 2. การปกครองหัวเมือง
           อยุธยาเป็นเมืองหลวง   เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง    ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ  เมืองลพบุรี    ทิศตะวันออก  เมือง นครนายก   ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์   และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
           ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน  ได้แก่   สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ชลบุรี และเพชรบุรี   และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991 - 2231
              การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา     โดยมีลักษณะสำคัญ ประการคือ
          1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง 
          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
            กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
            กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
           นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
  กรมเมือง (เวียง)     มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
  กรมวัง                   มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
  กรมคลัง                 มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
  กรมนา                   มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
  การปกครองส่วนภูมิภาค
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
 1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
  2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
  3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

   การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
  1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า         จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
  2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 

  3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
  4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

  1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
  2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ      การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
  3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)


การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
  สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
  สมุหกลาโหม     - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน   
  สมุหนายก          - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง   
                             ของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ 
         ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้
    -       หัวเมืองฝ่ายเหนือ   ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
    -       หัวเมืองฝ่ายใต้   ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
    -       หัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง

แหล่งที่มา http://project611.exteen.com/page/2

นางดิลมา รูซเซฟฟ์ อดีตแกนนำกลุ่มกองโจร ชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล หลังจากประกาศจะยึดมั่นนโยบายของรัฐบาลเดิมที่ช่วยทำให้คนจำนวนมากหลุดพ้นจากความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจบราซิลให้เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจร้อนแรงที่สุดของโลก
เจ้าหน้าที่เลือกตั้งบราซิลแจ้งผลการนับคะแนนไปแล้วร้อยละ 95 ว่านางรูซเซฟฟ์ ตัวแทนรัฐบาลได้คะแนนร้อยละ 55.7 ทิ้งห่างนายโจเซ แซร์รา ตัวแทนฝ่ายค้านที่ได้ร้อยละ 44.3 นางรูซเซฟฟ์ วัย 62 ปี เคยถูกจำคุกและทรมานในช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี 1970 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีพลังงาน และไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน เธอได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา และเคยเป็นอดีตหัวหน้าคณะทำงานทำเนียบประธานาธิบดีของนายลูลา
นางรูซเซฟฟ์ชนะเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม แต่ไม่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาดจึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสองเมื่อวานนี้ เธอมีคะแนนนิยมทิ้งห่างนายแซร์รา หลังเปลี่ยนจากการชูนโยบายด้านสังคมไปสนับสนุนความสำเร็จทางเศรษฐกิจของนายลูลา โดยรับปากจะต่อยอดความสำเร็จของเขาด้วยการปรับปรุงสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 และโอลิมปิก 2016 อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางคนเห็นว่า เธอไม่ค่อยสนใจเรื่องปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เช่น ปฏิรูประบบภาษียุ่งยากที่เพิ่มต้นทุนการทำธุรกิจ บางคนเกรงว่าเธอจะขยายบทบาทของรัฐมากเกินไปในบางภาคเศรษฐกิจและไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณที่ทำให้ค่าเงินของบราซิลแข็งค่ากว่าความเป็นจริงมาก

หยุดบอกเลิกกันเสียที

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน

       ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                    1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    2. เป็นจอมทัพไทย
                    3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
                พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
                    1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
                    2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                    3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
            
แหล่งที่มา  http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/13.html
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blogger ของ sirinya
blog นี้สร้างขึ้นเพื่อไว้ใช้การเรียนในวิชา อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน